หลักสูตร Active Listening for Leader
คุณอชิระวิชญ์ ภักดิ์โชติพงศ์ (อาจารย์ริว)
หลักสูตรนี้สอนถึงหลักการของการรับฟังที่แท้จริง ว่าควรฟังอย่างไรให้ได้รับสารอย่างถูกต้องให้ได้มากสุด ใช้หลักการและทฤษฎีเพื่อพัฒนาให้ตนเองกลายเป็นการฟังเชิงรุก รวมถึงเทคนิคสำคัญที่จะทำให้คุณกลายเป็นผู้นำ
ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะในโลกธุรกิจระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ การทำงานบนข้อมูลข่าวสารต่างเป็นเรื่องที่ต้องมีระบบจัดการเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล หนึ่งในทักษะที่สำคัญคือ “ทักษะการฟัง” ไม่ว่าจะเป็นการฟังข่าวสารในชีวิตประจำวัน การแลกเปลี่ยนข่าวสารธุรกิจ การฟังฟีดแบคจากลูกค้าในการทำงาน และอีกหนึ่งสถานการณ์ที่บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในฐานะ “ผู้นำ” ต้องเจอ คือการรับฟังข้อมูลจากผู้ใต้บังคับบัญชา และการคัดกรองข้อมูลที่ได้รับเพื่อนำไปตัดสินใจในสถานการณ์สำคัญ
Active Listening for leader จึงเป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมทักษะด้านการฟัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการรับข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะในหลายครั้ง ผู้นำก็อาจจะใช้อคติ ประสบการณ์ ในการตีความข้อมูลที่ได้รับจนอาจจะเกิดการผิดพลาด ยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ การตกหล่นของข้อมูลแม้เพียงนิดเดียวก็ทำให้การตัดสินใจนั้นไร้ประสิทธิภาพได้ หลักสูตรนี้จึงสอนหลักการของการรับฟังที่แท้จริง ว่าควรฟังอย่างไรให้ได้รับสารอย่างถูกต้องให้ได้มากสุด ใช้หลักการและทฤษฎีเพื่อพัฒนาให้ตนเองกลายเป็นการฟังเชิงรุก สามารถตอบสนองในฐานะผู้ฟังเรียนรู้ปัจจัยที่ขวางกั้นความเข้าใจของเราในการสื่อสาร รวมถึงเทคนิคสำคัญที่จะทำให้คุณกลายเป็นผู้นำ ที่สามารถใช้ทักษะการฟัง เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการนำพาองค์กรไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง
KEY LEARNING POINT
1. ทักษะการฟังกับภาวะการเป็นผู้นำ และทำไมการฟังถึงเป็นอุปสรรคของการสื่อสารที่สำคัญ
และมักจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างในองค์กร
2. องค์ประกอบของการสื่อสาร และ 3 ขั้นตอนของการเป็นผู้ฟังเชิงรุก (Active Listening)
2.1 ความแตกต่างระหว่างการฟัง (Active Listening) VS การได้ยิน (Hearing)
3. เรียนรู้ถึงปัจจัยที่ขวางกั้นความเข้าใจของเราในการสื่อสาร พร้อมกับวิธีการรับมือ
และหลักการตอบสนอง (Responding) เพื่อให้เกิดความเข้าใจเมื่อต้องสื่อสารได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด
3.1 เทคนิคในการตรวจสอบความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างผู้รับกับผู้พูด
3.2 ข้อควรระวังในการฟังเชิงรุก (Do & Don’t)
4. ตระหนักรู้ (Awareness) ในตนเองเพื่อนำไปสู่การสร้าง Mindset ที่สำคัญของการเป็นผู้ฟังที่ดี
5. เรียนรู้หลักการ NLP Communication Model และ Transactional Model of Communication
ที่ใช้ในการวิเคราะห์การสื่อสาร เพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นฐานะผู้รับสารหรือผู้ส่งสาร
6. เทคนิคในการนำหลักการเป็นผู้ฟังเชิงรุก (Active Listening) มาใช้ในหลายบทบาท
เช่น ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ฝึกสอน หัวหน้างาน หรือการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
KEY BENEFIT
1. สามารถรับฟังข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หาวิธีการรับมือ แก้ไขปัจจัยที่อาจจะทำให้สารคลาดเคลื่อน
เมื่อต้องทำงานบนข้อมูลข่าวสารในองค์กร
2. สามารถลดความขัดแย้งในองค์กร เกิดความร่วมมือ (Collaboration) ในการทำงานมากขึ้น
เนื่องจากใช้การฟังเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับผู้ใต้บังคับบัญชาและคนในทีม
สามารถทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้พูด
3. แยกแยะความน่าเชื่อถือของข่าวสารที่ได้รับ ลดอคติที่เกิดขึ้นเมื่อเรารับฟังข้อมูล
และเอาชนะอุปสรรคที่อาจจะทำให้สารคลาดเคลื่อน
4. การฟังช่วยให้เราพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ตนเองได้ เนื่องจากเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่จากการฟัง
สามารถรับ feedback มาปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า
5. ใช้การฟังเป็นการถ่ายทอดความเคารพและสร้างความเชื่อมั่นในฐานะผู้นำ (Leadership) ไม่ว่าจะเป็นในบทบาทของผู้ฟังหรือผู้พูด
คุณอชิระวิชญ์ ภักดิ์โชติพงศ์ (อาจารย์ริว)
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย