29

หลักสูตร Project Management

คุณศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก)

0.0
(0)

หากต้องการที่จะทำโครงการให้สำเร็จ ผู้เป็นเจ้าของโครงการต้องมีทักษะหลายอย่างเพื่อบริหารโครงการ (Project management) แบ่งระบบทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของโครงการ

หากต้องการที่จะทำโครงการให้สำเร็จ ผู้เป็นเจ้าของโครงการต้องมีทักษะหลายอย่างเพื่อบริหารโครงการ (Project management) แบ่งระบบทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็กหรือโครงการใหญ่ เพื่อให้เกิดการคล่องตัวในการบริหาร ควบคุมโครงการให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเวลา เงิน ทรัพยากรบุคคล และการบริหารความเสี่ยง หากโครงการมีเป้าหมายที่ใหญ่และสร้างอิทธิพลให้แก่องค์กร จำนวนโครงการย่อยที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีมากตามเช่นกัน เพื่อทำให้การบริหารคล่องตัวมากขึ้น เห็นภาพรวมได้ชัด ควบคุมงานได้ง่าย และกระจายงานได้อย่างทั่วถึง สุดท้ายคือการติดตามผลขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ที่ต้องการให้ดียิ่งขึ้น เมื่อจบโครงการ ไม่ใช่แค่องค์กรที่ได้ผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว ผู้รับผิดชอบโครงการได้ฝึกฝนทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ด้วยเช่นกัน พร้อมที่จะขยับขั้นความสามารถของตนเองขึ้นไปอีกระดับ

หลักสูตรการบริหารโครงการ (Project management) จึงเหมาะกับผู้ที่เป็นหัวหน้างาน ผู้บริหาร หรือพนักงานที่จำเป็นต้องบริหารโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหญ่หรือโครงการย่อย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการบริหารโครงการตั้งแต่ริเริ่มจนไปถึงการติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายองค์กรที่ต้องการ รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยง และการบริหารทรัพยากรภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการบริหารโครงการมาอย่างยาวนาน

Key Learning Point

1.ที่มาและความสำคัญของการบริหารโครงการ (Project management) ในองค์กร
2.หลักการในการกำหนดหัวข้อโครงการ ขั้นตอนการเขียนแผนโครงการอย่างเป็นระบบ
2.1 การประเมินโครงการ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.2 ประเภทของโครงการ และคุณลักษณะของโครงการ
3.มิติที่สำคัญในการกำหนดโครงการ วงจรของโครงการ การวางแผนโครงการโดยใช้วิธี เหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework) และจัดทำตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Log Frame Table)
4.เครื่องมือในวิเคราะห์โครงการ เช่น Technical analysis, Objective Tree, Market/Marketing analysis, Social analysis, Institutional analysis, Environmental analysis, Project appraisal, Cost-Benefit analysis
5.การวางระบบการควบคุมติดตามและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคนิค CIPP Model Evaluation Model

Key Outcome Point

1.ผู้เรียนสามารถวางแผนการบริหารโครงการได้ตั้งแต่ต้นจนถึงวิธีการประเมินผล (Evaluation) อย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามหลัก และสัมพันธ์กับเป้าหมายองค์กรที่ต้องการในเชิงองค์รวม (Holistic)
2.เข้าใจความเสี่ยงในการบริหารโครงการ (Risk management) สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อโครงการ ผ่านหลากหลายเครื่องมือ
3.บริหารทรัพยากร (Resource Management) ในองค์กรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า ผ่านการวิเคราะห์งบประมาณ รวมถึงสามารถบริหารเวลา จัดสรรตารางให้โครงการเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
4.ส่งเสริมทักษะในการบริหารโครงการแก่ผู้เรียน พัฒนาความคิดเป็นระบบ (Systematic Thinking) การคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
5.สามารถมอบหมายงาน (Delegation) เพื่อเป็นการแจกจ่ายงานได้อย่างเหมาะสมกับทรัพยากรมนุษย์ที่มี เพื่อบริหารโครงการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่ต้องการ

หมวดหมู่
2 หัวข้อหลัก

คุณศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก)

ประกอบด้วย

1 ชั่วโมง วิดีโอการเรียน
21 หัวข้อ
1 แบบทดสอบ
วุฒิบัตร

ประกอบด้วย

1 ชั่วโมง วิดีโอการเรียน
21 หัวข้อ
1 แบบทดสอบ
วุฒิบัตร

ยอดรวมสินค้า
ส่วนลด
ยอดรวมหลังหักส่วนลด
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
รวมทั้งสิ้น

ช่องทางการชำระเงิน
วิธีการชำระเงิน
สถานะ
เลขอ้างอิง
ชำระเงินเมื่อ
Loading...