หลักสูตร Constructive Feedback
คุณกมลวรรณ พันธุสุนทร (อาจารย์นุช)
ในการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล องค์กร หรือระดับประเทศ การให้ “Feedback” เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ต้องมีอยู่เสมอ
ในการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล องค์กร หรือระดับประเทศ การให้ “Feedback” เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ต้องมีอยู่เสมอ เราอาจจะคุ้นชินกับคำว่า “ทำได้ดี” หรือ “ทำได้ไม่ค่อยดี ปรับปรุงอีกหน่อยนะ” อยู่ตลอด เพราะเป็นประโยคให้คำชมหรือประโยคติเตียนที่ถูกใช้บ่อย แต่มันกลับสร้างประโยชน์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากว่าเราไม่เคยทราบเลยว่า “อะไรที่เราทำได้ดี” หรือ “อะไรที่เราทำไม่ค่อยดี ควรปรับปรุง” เนื่องจากผู้ให้ Feedback เราไม่เคยบอก ทำให้กระบวนการที่ควรจะเป็นประโยชน์ที่สุดต่อองค์กรมักจะถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
Constructive feedback จึงเป็นหลักสูตรที่สามารถสอนตั้งแต่หลักการสื่อสารเบื้องต้น รูปแบบ และเทคนิคในการให้ Feedback อย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถใช้ประสิทธิภาพจากกระบวนการให้ “Feedback” ได้อย่างสูงสุด เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ใช่แค่เพียงในฐานะพนักงาน แต่ในฐานะหัวหน้างานก็ได้เช่นกัน
KEY LEARNING POINT
1. เรียนรู้ถึงความสำคัญของการให้ Feedback ว่ามีผลต่อการทำงานในองค์กรอย่างไร
2. การให้ Feedback ในฐานะผู้นำ (Leadership) ว่ามีบทบาทอย่างไร รวมถึงการประเมินตนเอง (Self-Awareness) เพื่อนำไปเป็นเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองต่อไป
3. องค์ประกอบและจุดประสงค์ในการสื่อสาร และความแตกต่างระหว่างการให้ Feedback กับ Team และ One on One
รวมถึง Feedback In the moment - Feedback After the moment
4. หลักการในการให้ Feedback แบบสร้างขวัญกําลังใจ (Motivational) และเพื่อการพัฒนา (Developmental)
รวมเทคนิคการให้ Feedback อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ต่อองค์กร
5. Model : SAID (Situation Action Impact Doing)
KEY BENEFIT
1. เข้าใจหลักการสื่อสารในการให้ Feedback ทั้งกระบวนการและเทคนิค จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กร ผู้ใต้บังคับบัญชา
เพื่อนร่วมงาน รวมถึงในชีวิตประจำวัน
2. สร้างประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เนื่องจากสามารถใช้การให้ Feedback ได้อย่างครบถ้วน มีประโยชน์ต่อกระบวนการทำงาน
และเหมาะสมกับสถานการณ์ นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกัน (collaboration) ในการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
3. ลดความขัดแย้ง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในองค์กรกับหัวหน้างาน เสริมสร้างความผูกพันธ์ของพนักงาน (employee engagement)ที่มีต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้การให้ Feedback ได้อย่างสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน
4. สามารถใช้ Feedback เพื่อช่วยในการพัฒนารายบุคคลของพนักงานอย่างยั่งยืน เนื่องจากผู้เรียนสามารถระบุได้อย่างชัดเจน
ว่าสมรรถนะ (competency) ข้อไหนที่ทำได้ดี และข้อใดที่ควรพัฒนา
5. ส่งเสริมให้เกิดระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ที่มีแข็งแกร่งในองค์กร เพราะการให้ Feedback ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในระบบพี่เลี้ยง
คุณกมลวรรณ พันธุสุนทร (อาจารย์นุช)
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย