หลักสูตร Crisis management and communication
คุณศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก)
หลักสูตรนี้เหมาะสมกับองค์กรที่ต้องการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มความรู้ เทคนิค วิธีการ การประเมินสถานการณ์ เพื่อสามารถปรับตัว สร้างองค์กรที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประสบความสำเร็จที่ต้องการอย่างสอดคล้องและยั่งยืน
“การบริหารจัดการ” เป็นแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการช่วยเหลือ หรืออำนวยการ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการจัดตั้งองค์กรเพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่างที่ต้องการ เพื่อจัดระเบียบ สร้างองค์กรให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารคน การบริหารทรัพยากรที่จำกัดและไม่จำกัด แต่ในบางครั้งเราอาจจะพบเจอกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ไม่ได้อยู่ในตำราการบริหารจัดการทั่วไป เมื่อพบเจอกับภาวะ “วิกฤต” ผู้นำองค์กรที่ไม่สามารถปรับตนเองและองค์กรได้ทัน ขาดกลยุทธ์ที่ดีในการรับมือ ส่งผลให้เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จะรับมือได้ทัน ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่เสมอ “การบริหารจัดการวิกฤต” จึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรเรียนรู้ เพื่อตระหนัก สร้างความรู้ความเข้าใจรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น สามารถหากลยุทธ์ วิธีในการรับมือ พร้อมเผชิญหน้า ลดทอนความเสียหายลง ฟื้นตัวได้เร็ว จนกลับเข้าสู่สนามการแข่งขันบนโลกธุรกิจได้อย่างปลอดภัย
การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤติ (Crisis Management and Communication) จึงเป็นหลักสูตรที่ทาง Beyond Training สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ยุคปัจจุบันที่พึ่งผ่านการเผชิญภาวะวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็น Digital Disruption หรือแม้แต่ช่วงที่การระบาดของ Covid-19 ทำให้เราเล็งเห็นถึงความสำคัญ ตระหนักถึงผลกระทบหากองค์กรไม่สามารถรับมือกับช่วงวิกฤติได้ หลายองค์กรปิดตัวลงและหายไปจากโลกธุรกิจ ส่วนองค์กรที่ปรับตัวได้ก็ต้องประคองตนเอง หากลยุทธ์เพื่อสร้างกำไร ฟื้นตัวธุรกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลักสูตรนี้จึงเหมาะสมกับองค์กรที่ต้องการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มความรู้ เทคนิค วิธีการ การประเมินสถานการณ์ เพื่อสามารถปรับตัว สร้างองค์กรที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประสบความสำเร็จที่ต้องการอย่างสอดคล้องและยั่งยืน
Key Learning Point
1.การบริหารจัดการภาวะวิกฤติ (Crisis Management) มีความสำคัญกับองค์กรอย่างไร?
2.หลักการในการสื่อสาร เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤติ (Crisis Communication)
2.1 การสร้างความเชื่อมั่นผ่านการสื่อสารให้กับพนักงานในองค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
3.บทบาทของผู้นำ (Leader) ในภาวะวิกฤติ
3.1 ทักษะที่ผู้นำควรพัฒนาเพื่อรับมือกับวิกฤต เช่น การบังคับบัญชา การตั้งเป้าหมายร่วม การจูงใจ
4.แนวคิดในการบริหารภาวะวิกฤติตามหลักทฤษฎีที่แตกต่าง
4.1 ถอดบทเรียนการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ จากองค์กรที่ประสบความสำเร็จ (Lesson learned)
5.หลักการเตรียมแผนเพื่อจัดการสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือ Business Continuity Planning (BCP)
5.1 วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน เพื่อปิดช่องโหว่ของแผน BCP
5.2 ขั้นตอนในการวางแผนจนไปถึงภาคปฎิบัติ
5.3 การประเมินความเสี่ยง (Risk-Assessment) เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ที่แย่ที่สุด (Worst case scenario) และความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดได้มากที่สุด (Possibility scenario)
Key Outcome Point
1.องค์กรมีความพร้อมในการรับมือกับวิกฤติอยู่เสมอ สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ตามกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ตามแผน Business Continuity Planning (BCP) ที่ได้วางไว้อย่างเหมาะสม
2. ผู้นำ จนไปถึงพนักงานในองค์กรทุกระดับตระหนักถึง “วิกฤติ” ที่อาจเกิดขึ้น ตื่นตัว พร้อมฝึกฝนทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ความสามารถตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
3.เมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤต ผู้นำสามารถใช้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นระบบ สอดคล้องกับแผนที่วางไว้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงานในองค์กร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
4.องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงภาวะวิกฤติได้ รวมถึงการใช้ความรู้เพื่อคาดการณ์ วิเคราะห์ ปรับใช้จุดแข็ง-จุดอ่อน นำความรู้ เทคนิคที่ได้จากหลักสูตรไปปรับใช้ได้จริง
5.ใช้เครื่องมือเพื่อประเมิน สถานการณ์ที่แย่ที่สุด (Worst case scenario) และความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดได้มากที่สุด (Possibility scenario) เพื่อประเมินความเสี่ยงสถานการณ์ภายนอกอยู่ตลอดเวลา
คุณศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก)
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย