หลักสูตร Empowerment and Delegation for Leadership
คุณวิชัย แสงหิรัญวัฒนา (อาจารย์โหงว)
ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ หากองค์กรสามารถเข้าใจพนักงานแต่ละคนว่ามีจุดแข็งในการทำงานอย่างไร ผู้นำก็สามารถมอบหมายงานที่เหมาะสมกับพนักงานได้ Delegation and Empowerment จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือบริหารจัดการที่สำคัญสำหรับผู้นำ
ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ หากองค์กรสามารถเข้าใจพนักงานแต่ละคนว่ามีจุดแข็งในการทำงานอย่างไร ผู้นำก็สามารถมอบหมายงานที่เหมาะสมกับพนักงานได้ Delegation and Empowerment จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือบริหารจัดการที่สำคัญสำหรับผู้นำ หาก “การมอบหมายงาน (Delegation)” เกิดขึ้นโดยผู้นำไม่ได้ตระหนักถึงพนักงานว่าเป็นอย่างไร ผลงานที่ได้อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เกิดการเปลืองทรัพยากรโดยไม่จำเป็น และงานที่รับมอบหมายไม่ได้มีการส่งเสริมจุดแข็งของพนักงาน รวมถึงหากพนักงานขาดอำนาจในการบรรลุเป้าหมายงาน “การเสริมพลังอำนาจ (Empowerment)” จึงเป็นการมอบอำนาจและใช้กระบวนการบางอย่างเพื่อส่งเสริมขีดจำกัด สมรรถนะ (Competency) ของพนักงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง (Self-development) ให้เติบโตและกลายเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนตนเองและองค์กรไปพร้อมกัน
Key Learning Point
1. ความแตกต่างระหว่าง “การมอบหมายงาน (Delegation)” และ “การเสริมพลังอำนาจ (Empowerment)”
2. เรียนรู้บทบาทของผู้นำ (Leadership Role) กับการมอบหมายงานและการเสริมพลังอำนาจกับผู้ใต้บังคับบัญชา
3. ขั้นตอนในการมอบหมายอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
4. รูปแบบลักษณะของพนักงานในองค์กร และเทคนิคการมอบหมายงานให้เหมาะกับลักษณะผู้ใต้บังคับบัญชา
5. การเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) การมอบอำนาจหรือทรัพยากรให้พนักงานจนสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายงาน เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน รวมถึงการสร้างเป้าหมายในการทำงาน
6. ฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำที่ดี เช่น การให้ Feedback, การรับฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) และการตั้งคำถาม (Powerful Question)
Key Outcome Point
1. ผู้นำสามารถมอบหมายงานให้พนักงานได้อย่างเหมาะสม เลือกคนให้เหมาะกับงาน เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของผลลัพธ์ พนักงานสามารถดึงศักยภาพตนเองมาใช้ได้อย่างเต็มที่
2. ใช้การมอบหมายงานเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) หรือการโค้ช (Coaching) ต่อยอดไปถึงการสร้างความก้าวหน้าทางการงาน (Career path) ให้แก่พนักงาน
3. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เนื่องจากการมอบหมายงานมิใช่แค่เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร แต่ยังควบคู่ไปกับการพัฒนาแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ด้วย
4. ใช้บทบาทความเป็นผู้นำ (Leadership Role) ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานสามารถสร้างเป้าหมายของตนเองได้อย่างชัดเจน
5. พนักงานที่ได้รับการมอบหมายงาน สามารถบรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับการฝึกฝนสมรรถนะ (Competency) จนนำไปสู่การพัฒนาตนเอง (Self-development) อยู่ตลอดเวลา
คุณวิชัย แสงหิรัญวัฒนา (อาจารย์โหงว)
ประกอบด้วย
ประกอบด้วย